1.1 การมองเห็น

ส่วนที่ช่วยในการหักเหของแสง

ก่อนที่แสงจะเดินทางถึงจอตา จะต้องผ่านสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1.Aqueous humour มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ บรรจุอยู่ในส่วนของ Anterior chamber ซึ่งเป็นช่องอยู่ระหว่าง cornea และ Iris และอยู่ในช่อง Posterior chamber ซึ่งอยู่หลัง Iris และอยู่หน้าต่อ lens, suspensory ligament และ ciliary body โดย Aqueous humer นี้ถูกสร้างตลอดเวลา โดย Cilliary body 2.Lens หรือ แก้วตา มีลักษณะเป็นก้อนใส ผนังนูนโค้งทั้งสองด้าน อยู่ด้านหลังของลูกตาดำ มี elastic capsule หุ้มอยู่ ขอบของ lens มี suspensory ligament ยึดอยู่ และอีกปลายหนึ่งของ ligament นี้ ยึดติดกับ ciliary body ประโยชน์ของ lens คือ ช่วยให้แสงหักเหและรวมเป็นจุดเดียวกันและทำให้เห็นภาพชัดเจนบน เรตินา (Retina) 3.Vitreous body เป็นน้ำเมือกใสคล้ายไข่ขาว อยู่ภายในช่องส่วนหลังของลูกตา ทางด้านหลังเลนส์ มีหน้าที่ช่วยทำให้ลูกตาเป็นรูปกลมอยู่ได้

กระบวนการของการมองเห็น

เมื่อแสงสว่างผ่านเข้าลูกตา แสงจะผ่านทางส่วนของ cornea, Aqueous humour, pupil, lens และ vitreous body จะทำให้เกิดการหักเหของแสงให้ตกลงที่ retina ตรงบริเวณ rod cell และ cone cell แสงจะทำหน้าที่เป็นพลังงานกระตุ้นให้เกิดกระแสประสาท ผ่านทาง optic nerve ไปยัง visual center ซึ่งอยู่ในสมองบริเวณ occipital lobe แล้วสมองจะแปล impulse นั้นออกมาในรูปการมองเห็น ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ แสงสว่าง สี และ รูปร่าง

ความผิดปกติของสายตา

1.สายตาสั้น (Myopia) ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจาก กระบอกตายาวเกินไป ส่วนน้อย เกิดจากเลนส์ (Lens) หรือ cornea รวมแสงแล้วไม่ถึง retina ภาพไม่ focus บนจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด 2.สายตายาว (Hypermetropia) อาจเกิดเนื่องจากกระบอกตาสั้น เกินไป หรือ เพราะเลนส์ หรือ cornea แบน ทำให้แสงที่ผ่านเข้าลูกตา ยาวเกิน retina ไม่สามารถ โฟกัสได้บนจอตา การแก้ไข ต้องใช้แว่นเลนส์นูนช่วย เพื่อรวมแสงให้สั้นเข้า 3.สายตาเอียง (Astigmatism) เป็นภาวะที่มองเห็นภาพไม่ชัด เนื่องจากส่วนโค้งของ cornea หรือ lens ไม่เท่ากัน ทำให้การหักเหของแสงตามแนวต่างๆ ไม่เท่ากัน การแก้ไขทำได้โดย ใช้แว่นกาบกล้วย (Cylindrical lens) เพื่อทำให้อำนาจการหักเหของแสงทุกแนวเท่ากันได้