1.9 การผสมแสงสี (Addition of Colours)

การผสมแสงส หมายถึง การนำเอาแสงที่มีสีต่างๆไปรวมกันบนฉากขาวซึ่งจะให้สีใหม่ๆหรือแสงที่ต่างไปจาก เดิม หรือแม้แต่การฉายแสงสีต่างๆกันไปถูกวัตถุที่มีสี จะทำให้วัตถุนั้นมีสีต่างออกไปสีผสมที่ได้จากการผสม แสงสีต่างๆ จะได้สีใหม่ที่อ่อนกว่าสีเดิมและการผสมแสงสีมีความสำคัญอยู่ที่ฉาก คือฉากที่ใช้จะต้องมีสีขาว จริงๆไม่เช่นนั้น อาจทำให้มีใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นมีสีต่างไปจากเดิม

1.9.1แสงสีทุติยภูมิ (secondary colours of light) หมายถึง แสงที่เกิดจากการนำแสงสีปฐมภูมิคู่ได้ึคู่หนึ่งผสมกัน ได้แก่ สีแดงม่วง

สีเหลือง และ สีน้ำเงินเขียว

1.9.2 แสงสีเติมเต็ม (Complementary colours of light) คือคู่แสงที่ผสมกันแล้วให้แสงขาว

1.8 กฎการหักเหของแสง (Law of Reflection)

ความหนาแน่นที่ต่างกันของตัวกลาง 2 ชนิดที่แสงเดินทางผ่าน ทำให้ความเร็วของแสงเปลี่ยนแปลง (เร็วขึ้นรือช้าลง) การเปลี่ยนแปลงความเร็วนี้เอง ทำให้ลำแสงเบนออกจากแนวเดิม ซึ่งจะมี 2 ลักษณะคือ

1. เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า เช่น จากอากาศไปยังน้ำ ลำแสงจะ เบนเข้าหา เส้นแนวฉาก

2. เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า เช่น จากน้ำไปยังอากาศ ลำแสงจะ เบนออก จากเส้นแนวฉาก

1.7รังสี และรำแสง

1.7.1 รังสี (Rays) คือแนวหนึ่ง ๆ ที่กระจายออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง เขียนแทนด้วยเ้ส้นตรงลูกศรแสดงทิศทางดังรูปที่1.7.1

รูปที่ 1.7.1 แสดงทิศทางการกระจายรังสีแสง

1.7.2 ลำแสง (Beam) หมายถึงรังสีหลายๆรังสีมารวมกัน ดังรูป 1.7.2

รูปที่ 1.7.2 แสดงลักษณะทิศทางของลำแสง

1.7.2.1 ชนิดของลำแสง ลำแสงมี 3 ชนิด คือ

ก. ลำแสงขนาน (Parallel Beam) คือลำแสงที่เมื่อออกจากแหล่งกำเนิดแล้วปลายเป็นลำขนานกันตลอด ลำแสงชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดไกลมาก เช่นแสงอาทิตย์

ข. ลำแสงปลายตีบ (Convergent Beam) คือลำแสงที่เมื่อออกจากแหล่งกำเนิดแล้วจะมีปลายรวมเข้าหากัน เช่น ลำแสงที่ผ่านออกจากเลนน์นูนหรือที่สะท้อนมากจากกระจกเว้า

ค. ลำแสงปลายบาน (Divergent Beam) คือลำแสงที่เมื่อออกจากแหล่งกำเนิดแสงแล้วจะกระจายบานออก แสดงจากดวงไฟ จากเทียนไข หรือแสงที่ผ่านเลนส์เว้า หรือที่สะท้อนออกมาจากกระจกนูน

1.6 แสงสี

แสง เป็นพลังงานรังสี ( Radiation Energy ) ที่ตารับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยกระบวนการิเคราะห์แยกแยะของสมอง ตาสามารถวิเคราะห์ พลังงานแสงโดยการรับรู้วัตถุ สัมพันธ์กับตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ความเข้มของแสง และความยาวคลื่นที่มองเห็นได้

คือลักษณะความเข้มของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี โดยผ่านกระบวนการรับรู้ด้วยตาองจะรับข้อมูลจากตา โดยที่ตาได้ผ่านกระบวนการ วิเคราะห์ข้อมูลพลังงานแสงมาแล้ว ผ่านประสาทสัมผัสการมองเห็น ผ่านศูนย์สับเปลี่ยนในสมองไปสู่ศูนย์การมองเห็นภาพ การสร้างภาพ หรือการมองเห็นก็คือ การที่ข้อมูลได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะให้เรารับรู้ถึงสรรพสิ่งรอบตัว

1.5ความเฉื่อยของตา

ความเฉื่อยของดวงตาหรือ เปอร์ซิสเต็นซ์ (Persistene) หมายถึงการที่เรามองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เมื่อสิ่งนั้นผ่านไปแล้วเรายังเห็นสิ่งนั้นอยู่ชั่วคู่หนึ่งสาเหตุที่เรายังมากเห็นภาพอยู่ทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นผ่านไปแล้วที่เป็นเช่้นนี้เพราะความเฉื่อยช้าของตาเรา

จากลักษณะสมบัติของความเฉื่อยของตานี้ได้นำไปใช้ในการสร้างภาพยนต์เมื่อเราดูภาพยนต์ก็คือเราดูภนิ่งนั้นเอง แต่เป็นภาพนิ่งที่มีการต่อเนื่องกันเมื่อให้ภาำพนั้นเคลื่อนที่เร็วๆเราจะเห็นภาพนั้นมีอาการเคลื่อนไหวได้ ปกติภาพยนต์จะให้ภาพเคลื่อนผ่านหน้า้้้เครื่องฉายประมาน 24 ภาพ หรือ 24 เฟรม (Frame) ต่อวินาที

การเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันและมีความเร็วพอเหมาะ ตาหรือสมองของคนเราไม่สามารถลืมภาพก่อนหน้าหรือภาพหลังได้ จึงทำให้เห็นเป็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้จากที่กล่าวมาแล้วนั้น แสดงว่าตาของเรามันมีมายา (eision)

1.4ส่วนประกอบของภาพขาว-ดำ

จากรูปให้สังเกตภาพขาวดำต่อไปนี้ถ้าพิจรณาให้ถ่องแท้แล้วภาพเหล่านี้ประกอบขึ้นด้วยจุดกลมเล็กหลายๆจุดจำนวน มากมายมาวางเรียงกัน

จากการสังเกตุจะเห็นว่า ยิ่งจุดมีจำนวนมากขึ้นทำให้ภาพนั้นดูงามดี เป็นภาพที่มีความชัดเจนแจ่มใสแต่เมื่อภาพนั้นประกอบนั้นประกอบด้วยจุดจำนวนน้อยลง ความเป็นคนก็ยิ่งไม่ชัด

1.3 การมองเห็นภาพขาว-ดำ

แสงขาวเหล่านี้เราจะมองเห็นจากดวงอาทิตย์หรือหลอดไฟนั้น จะประกอบไปด้วยความที่แตกต่างตั้งแต่ความยาวคลื่น 780 nm ถึง 380 nm

ผลรวมของความถี่ทั้งหมดนั้นทำให้ประสาทเกิดความรู้สีกมองเห็นเป็นแสงสีขาวถือว่าเป็นแสงที่มีความเข้มของแสงสูงสุด (100%)

และเห็นเป็นสีเทาเมื่อปริมาณความเข้มของแสงลดลง และลดลงเรื่อยๆ จนเห็นเป็นสีดำเมื่อไม่มีแสงพุ่งมาเข้าตาเรา

1.2องค์ประกอบของการมองเห็น

องค์ประกอบของการมองเห็น การที่คนเราจะมองเห็นสิ่งใด ๆ นั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดั้งนี้

1.แสงสว่าง

2.วัตถุหรือสิ่งของที่จะมอง

3.ดวงตา

การที่เรามองเห็นโต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ ฯลฯ ในเวลากลางวันนั้นก็เพราะดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดแสง แสงจากดวงอาทิตย์พุ่งไปกระทบกับวัตถุในทางตรงกันข้ามแล้วถ้าเป็นเวลากลางคืนและไม่มีแสงสว่างจากแหล่งใดเลย เราก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุใด ๆ ได้เลย

1.1 การมองเห็น

ส่วนที่ช่วยในการหักเหของแสง

ก่อนที่แสงจะเดินทางถึงจอตา จะต้องผ่านสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1.Aqueous humour มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ บรรจุอยู่ในส่วนของ Anterior chamber ซึ่งเป็นช่องอยู่ระหว่าง cornea และ Iris และอยู่ในช่อง Posterior chamber ซึ่งอยู่หลัง Iris และอยู่หน้าต่อ lens, suspensory ligament และ ciliary body โดย Aqueous humer นี้ถูกสร้างตลอดเวลา โดย Cilliary body 2.Lens หรือ แก้วตา มีลักษณะเป็นก้อนใส ผนังนูนโค้งทั้งสองด้าน อยู่ด้านหลังของลูกตาดำ มี elastic capsule หุ้มอยู่ ขอบของ lens มี suspensory ligament ยึดอยู่ และอีกปลายหนึ่งของ ligament นี้ ยึดติดกับ ciliary body ประโยชน์ของ lens คือ ช่วยให้แสงหักเหและรวมเป็นจุดเดียวกันและทำให้เห็นภาพชัดเจนบน เรตินา (Retina) 3.Vitreous body เป็นน้ำเมือกใสคล้ายไข่ขาว อยู่ภายในช่องส่วนหลังของลูกตา ทางด้านหลังเลนส์ มีหน้าที่ช่วยทำให้ลูกตาเป็นรูปกลมอยู่ได้

กระบวนการของการมองเห็น

เมื่อแสงสว่างผ่านเข้าลูกตา แสงจะผ่านทางส่วนของ cornea, Aqueous humour, pupil, lens และ vitreous body จะทำให้เกิดการหักเหของแสงให้ตกลงที่ retina ตรงบริเวณ rod cell และ cone cell แสงจะทำหน้าที่เป็นพลังงานกระตุ้นให้เกิดกระแสประสาท ผ่านทาง optic nerve ไปยัง visual center ซึ่งอยู่ในสมองบริเวณ occipital lobe แล้วสมองจะแปล impulse นั้นออกมาในรูปการมองเห็น ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ แสงสว่าง สี และ รูปร่าง

ความผิดปกติของสายตา

1.สายตาสั้น (Myopia) ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจาก กระบอกตายาวเกินไป ส่วนน้อย เกิดจากเลนส์ (Lens) หรือ cornea รวมแสงแล้วไม่ถึง retina ภาพไม่ focus บนจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด 2.สายตายาว (Hypermetropia) อาจเกิดเนื่องจากกระบอกตาสั้น เกินไป หรือ เพราะเลนส์ หรือ cornea แบน ทำให้แสงที่ผ่านเข้าลูกตา ยาวเกิน retina ไม่สามารถ โฟกัสได้บนจอตา การแก้ไข ต้องใช้แว่นเลนส์นูนช่วย เพื่อรวมแสงให้สั้นเข้า 3.สายตาเอียง (Astigmatism) เป็นภาวะที่มองเห็นภาพไม่ชัด เนื่องจากส่วนโค้งของ cornea หรือ lens ไม่เท่ากัน ทำให้การหักเหของแสงตามแนวต่างๆ ไม่เท่ากัน การแก้ไขทำได้โดย ใช้แว่นกาบกล้วย (Cylindrical lens) เพื่อทำให้อำนาจการหักเหของแสงทุกแนวเท่ากันได้