Vdo สอนใช้กล้อง Canon
3.4แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Power Supply)

แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) กล้องโทรทัศน์ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ตามปกติถ้านำกล้องไปใช้งานนอกสถานที่ชนิดถ่ายกล้องเดียวกับเครื่องเทปบันทึก ภาพ พลังงานไฟฟ้าอาจได้จากแบตเตอรี่หรือจากหม้อแปลงไฟฟ้าก็ได้ ในกรณีที่เป็นการถ่ายทำจากศูนย์รวม คือ ในสตูดิโอ หรือต่อร่วมกับรถถ่ายทำ พลังงาน ไฟฟ้าจะจ่ายออกมาจากศูนย์รวม ณ อุปกรณ์ควบคุมกล้อง (Camera Control Unit) เรียกชื่อย่อว่า CCU และที่จุดนี้นอกจากจะจ่ายไฟฟ้าให้กล้องแล้วยังสามารถควบคุมสีและแสงของกล้องด้วย

3.3 จอดูภาพ (Viewfinder)

จอดูภาพ (Viewfinder) ติดตั้งอยู่ส่วนหน้าของกล้องทางด้านซ้ายใกล้กับเลนส์มี ไว้สำหรับดูภาพในขณะถ่ายทำ

และดูภาพจากเครื่องบันทึกเทปบันทึกภาพในขณะที่เล่นกลับ (Play Back) ก็ได้ จอดูภาพ ในกล้องโทรทัศน์จะเป็นขาว-ดำ มิใช่สีธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะ 3.1 มีไว้เพื่อดูขนาดของภาพและความสมส่วน 3.2 มีไว้เพื่อโฟกัสภาพให้ชัด 3.3 เป็นลักษณะของโทรทัศน์เล็ก ๆ ขนาดเพียง 1.5 นิ้ว การสร้างเป็นสีจึงลำบาก ไม่คุ้มค่า เพราะความจำเป็นมีน้อย 3.4 กล้องโทรทัศน์บางยี่ห้ออาจใช้จอดูภาพเป็นที่แสดงรายละเอียดข้อมูลทางเทคนิคให้ ปรากฏบนจอดูภาพด้วย เช่น การแสดงตัวเลขของฟิลเตอร์ การปรับสี เป็นต้น

ที่จอดูภาพยังมีเลนส์ครอบชนิดปรับได้สำหรับคนสายตาสั้น ทำหน้าที่ถ่ายโดยไม่ต้องใส่แว่นตาได้ด้วย ทั้งที่มีที่บังแสงรบกวนภาพอยู่ที่ขอบรอบนอก ในกรณีที่เป็นการถ่ายทำในสตูดิโอหรือการต่อกล้องโทรทัศน์ร่วมกับรถถ่ายทำนอกสถานที่นั้น

ถือว่าเป็นการถ่ายทำแบบมีศูนย์รวมจอดูภาพนิยมติดตั้งบริเวณด้านหลังของตัวกล้อง

3.2ตัวกล้อง (Camera Head)

ตัวกล้อง (Camera Head) เป็นที่บรรจุหลอดภาพ แผงวงจรอิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างภาพ อันประกอบไปด้วย

1. หลอดรับภาพ (Pick-up Tube) เป็นหลอดที่บรรจุสารที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากล่าวคือ รับภาพที่โฟกัสดีแล้วจากเลนส์ แสงที่ตกกระทบกับด้านหน้าของหลอดภาพจะรับแสงและแปลงสัญญาณภาพส่งไปยังระบบขยายสัญญาณ หลอดรับภาพที่มีส่วนรับภาพยิ่งกว้างก็จะรับภาพยิ่งกว้างก็จะยิ่งรับภาพได้มากและมีคุณภาพสูงขึ้น

โดยทั่วไปถ้ากล้องโทรทัศน์ที่ต้องการคุณภาพก็จะมีหลอดรับภาพ 3 หลอด สำหรับแม่สีทางโทรทัศน์มี 3 สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red Green Blue) บางทีก็เรียกเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษว่า R G B ในกรณีที่มีหลอดรับภาพ 3 หลอด ที่หน้าหลอดจะต้องมีตัวแยกสีที่ผ่านมาจากเลนส์เสียก่อนเรียกว่า ปริซึม เพื่อส่งให้หลอดรับภาพต่อไป

2. แบบ CCD ในปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพเป็นไปอย่างรวดเร็วสามารถให้รายละเอียดของภาพได้คมชัดมากขึ้น ไม่มีลักษณะของการ Burn in เกิดขึ้น สีสันของภาพดีขึ้นอย่างมากCCD นี้บางทีถูกเรียกว่า ชิพ (CHIP) ภายใน 1 ตัวจะประกอบไปด้วยส่วนรับภาพเป็นจำนวนมากส่วนรับภาพนี้ยิ่งมีมากเท่าใดก็จะทำให้ภาพที่ได้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

3. ตัวกล้อง สร้างขึ้นจากโครงโลหะเบาไร้สนิมจำพวกอลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมหล่อส่วนรับภาพตลอดจนอุปกรณ์แผงวงจรอิเล็คทรอนิกส์ถูกบรรจุไว้ภาย

ในอย่างแน่นหนา เป็นลักษณะที่เสียบเข้าและถอดออกโดยง่ายเพื่อสะดวกต่อการตรวจซ่อม

3.1 เลนส์ (Lens)

เลนส์ (lens) เลนส์ที่ใช้กับกล้องโทรทัศน์ในปัจจุบันจะเป็นซูมเลนส์ คือ ดึงภาพเข้ามาใกล้หรือถอยภาพออกไปไกลได้โดยไม่ต้องเคลื่อนกล้องเรียกว่าซูมลนส์บางชนิดอาจซูมด้วย มอร์เตอร์ไฟฟ้าเรียกว่า เซอร์โวซูม (Servo Zoom) หรือซูมด้วยกลไกธรรมดาไม่ใช้ไฟฟ้าก็มี(Manual Zoom) ขนาดของเลนส์จะบอกเป็น X10, X12, X15 นิยมเรียกว่า 10 เท่า 12 เท่า 15 เท่า หมายความถึงระยะโฟกัสที่เลนส์สามารถดึงภาพเข้ามาใกล้ได้เป็นกี่เท่าของภาพไกลสุด

เลนส์ที่ใช้อย่บางทีมีส่วนที่ประกอบอยู่นั่นคือ HOOD หน้าเลนส์เป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ถ้าเป็นวงกลมหมายถึง เวลาโฟกัสหน้าของตัววงแหวนเลนส์เปลี่ยนไปด้วย เวลาเราจะใช้ Filterจะไม่สะดวก เมื่อโฟกัสFilterหน้าเลนส์จะเปลี่ยนไปด้วยจึงไม่เหมาะสม้าในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพที่ต้องใช้ Filter มาก ๆ ก็ต้องเป็นเลนส์ Internal Focus ส่วนตัว HOOD ที่เป็นสี่เหลี่ยม สามารถที่จะเอาFilterไปใส่ไว้หน้าเลนส์ละเมื่อเราโฟกัสตัวเลนส์ก็จะไม่เปลี่ยนเป็นการโฟกัสภายใน

2.4 LED Tv

LED(Light-emitting-diode) ซึ่งมันไม่ได้หมายถึง "ชนิด" ของทีวี แต่มันหมายถึงชนิดของ "เทคโนโลยีที่ใช้ส่องสว่างด้านหลังจอ" หรือ backlight ต่างหาก ในขณะที่ TV ทั้งสองชนิดยังคงเป็น LCD เหมือนเดิม ทั้งนี้ LCD จะย่อมาจาก Liquid-crystal display ซึ่งมันคือชนิดของเทคโนโลยีทีวี และมอนิเตอร์ โดยทั่วไป LCD จะใช้แสงสว่างส่องด้านหลัง (backlight) เป็น CCFL (Cold Cathode Fluorescent Lamp) เพื่อให้ความสว่างกับภาพในจอ LCD นั่นเอง แต่ LED TV จะแทนที่ CCFL ด้วย LED ทำให้ได้ภาพที่มีสว่าง-คม-ชัด-ลึกมากกว่า เรียกว่า คอนทราสของมันให้ความ "สว่างไสว-มึดสนิท" อย่างแท้จริง รวมถึงสีสันที่สมจริงมากขึ้นอีกด้วย

ข้อดี

1.ลักษณะจอมีขนาดบางกว่าจอLCD และจอPlasma

2.ความสว่างและสีสันค่อนข้างสดกว่า

3.กินไฟน้อยกว่าจอทั้ง2ชนิด

ข้อเสีย

1.ราคาแพงกว่า จอLCD และ Plasma

2.ตลาดยังไม่ได้รับความนิยมเพราะ ในปัจจุบันมีแค่ยี่ห้อ Samsung เท่านั้น

2.3 Plasma Tv

PLASMA จอภาพแบบพลาสม่าทีวี แสดงภาพโดยการใช้แสงที่เกิดจากการแตกตัว ionized ของ neon gas (นีออน)เพื่อแสดงผลของภาพออกมาที่แผงหน้าจอ ภายในจอภาพมีองค์ประกอบที่เต็มไปด้วย neon gas (แต่ละพิกเซลกำเนิดแสงได้เอง) Plasma ทีวี จะเน้นทำแต่ ขนาดใหญ่ๆครับ 42 นิ้วขึ้นไป จนถึงขนาด 150 นิ้ว (ของPanasonic เค้านะครับ) แต่ถ้าจะถามหา พลาสม่าทีวีขนาดที่เล็กกว่า 42 นิ้ว ก็ต้องไปถามหากับทาง LG เค้าละครับเพราะเค้าเป็นยี่ห้อเดียวในขณะนี้ที่ วางจำหน่าย พลาสม่าทีวี ขนาด 32 นิ้ว อยู่

ข้อดีของ Plasma TV

1. สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็วๆได้ดีกว่า เนื่องจากมี Response Time .001 ms จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์ Action และการรับชมกีฬาเป็นอย่างมาก

2. อายุการใช้งาน ยาวนานกว่าที่ 100,000 ชั่วโมง (Half Brightness)

3. สามารถแสดงระดับพื้นสีดำได้ดีกว่า

4. มีคอนทราสต์ที่สูงกว่าทำให้เห็นมิติของภาพได้ดีกว่า

5. มุมมองจอภาพที่กว้างกว่า แอลซีดี

6. ให้สีที่ถูกต้องเป็นธรรมชาติ มากกว่า สีออกโทนอุ่น

ข้อเสียของ Plasma TV

1. อาการ Burn-In มีโอกาสเกิดขึ้นได้ถ้าเปิดภาพนิ่งเป็นเวลานานๆ เช่นโลโก้ช่อง 7 หรือโลโก้ True Vision เป็นต้น (ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการนำไปเป็น Monitor ของคอมพิวเตอร์)

2. ไม่เหมาะสำหรับใช้ในห้องที่สว่างสูง เช่นห้องนั่งเล่น หรือกลางแจ้ง

3. หน้ากระจก ทำให้เกิดการสะท้อนเป็นเงาได้

4. กินไฟมากว่าทั้งจากตัวทีวีเอง และการทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้นเพราะ Plasma TV มีความร้อน ออกมาจากตัวเครื่องมากกว่า

2.2 LCD Tv

LCD ( Liquid Crystal Display) ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น

เทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้กับ LCD นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. Passive Matrix หรือที่เรียกว่า Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อยกว่า ใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอ Palm ขาวดำเป็นส่วนใหญ่

2. Active Matrix หรือที่เรียกว่า Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก

ข้อดีของ LCD TV

  1. ให้สีที่สว่างสดใสเหมาะกับการแสดงสีกราฟฟิก เช่น การ์ตูน , สารคดี และละคร
  2. เหมาะกับการนำไปเป็น Monitor ของคอมพิวเตอร์
  3. เหมาะสำหรับใช้ในห้องที่สว่างสูง เช่นห้องนั่งเล่นหรือ ห้องรับแขก (หรือท่านที่จะซื้อเพื่อใช้ไปติดตั้งในร้านค้าหรือร้านอาหาร แอลซีดี ทีวีก็จะเหมาะสมกว่า)
  4. อาการ Burn-In จะไม่โอกาสไม่เกิดขึ้นเลย
  5. แอลซีดีทีวียังกินไฟน้อยกว่าด้วยนะครับ

ข้อเสียของ LCD TV

  1. ไม่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็วๆได้ดี เนื่องจากมี Response Time เร็วที่สุดในขณะนี้เพียงแค่ 2 ms เท่านั้น
  2. มีความเพี้ยนของสีเกิดขึ้นโดยเฉพาะสีแดง, โทนสีผิว, สีท้องฟ้า ทะเล
  3. ไม่สามารถแสดงสีดำสนิทได้เนื่องจาก Backlight เปิดตลอดเวลาในขณะที่เครื่องทำงาน ทำให้มีแสงขาวเล็ดลอดออกไปในฉากที่เป็นสีดำ จึงทำให้ฉากสีดำเป็น “ดำสว่าง” ไม่ใช่ “ดำมืด” อย่างที่ควรเป็น
2.1 โทรทัศน์หลอด CRT

จอ CRT (Cathode Ray Tube Monitor) คือ จอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบอะนะล็อก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผลเช่นเดียวกันคะ จอซีอาร์ที จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ สารเหล่านี้เจะกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง

ข้อดี

1. รองรับการแสดงผลได้หลากหลาย

2. มีอัตราค่า Refresh Rate ที่สูงกว่า

3. สีสันสดใส คมชัดกว่า

ข้อเสีย

1.ขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก

2.สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า

3.มีความร้อนสูง

วิวัฒนาการของโทรทัศน์

ประวัติการกำเนิดโทรทัศน์และการส่งสัญญาณ

คําว่า "โทรทัศน์" หรือ Television นักวิชาการได้ให้ความหมายว่า "to see at a distance" ซึ่งตรงกับคําว่า "โทร" ที่แปลว่าไกล และ "ทัศน์" ที่แปลว่าการเห็น มีวิวัฒนาการดังนี้ แอนดรู เมย์ (Andrew May) ชาวไอริชได้ค้นพบสารเซเลเนียม ซึ่งมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ( เมื่อ พ.ศ. 2416 ) ต่อมาอีกประมาณ 10 ปี พอล นิพโกว ( Paul Nipkow ) ชาวเยอรมันได้ค้นพบหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุน กลายเป็นแนวความคิดให้นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า เอ็ม เซนเลซก์ ( M. Senlecg ) สามารถประดิษฐ์กล้องถ่ายโทรทัศน์ที่ส่งภาพและเสียงออกไปได้เมื่อปี พ.ศ. 2432 ปี พ.ศ. 2440 คาร์ล เฟอร์ดินานด์ บราวน์ (Karl Ferdinand Brawn) ได้ค้นพบหลอดภาพออสซิลโลสโคปและมีผู้นําเอาหลักการดังกล่าวไปผนวกเข้ากับโฟโตเซลล์ นั่นเป็นก้าวแรกที่ทําให้เราเริ่มเห็นภาพในจอจึงมีการเริ่มพูดถึงการใช้หลอดภาพอิเล็กทรอนิกส์ในการสแกนภาพ ระบบดังกล่าวยังไม่ประสบความสําเร็จ พ.ศ. 2468 ชาร์ล ฟรานซิส เจงกิน กับ เจมส์ ลอจี แบร์ด ได้ทดลองเกี่ยวกับการส่งภาพเงาโดยไม่ใช้สาย แล้วนําออกแสดงทั้งที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกา นี่เองที่เป็นก้าวที่คนทั่วไปได้สัมผัสกลไกของสิ่งที่เรียกว่าโทรทัศน์ การค้นคิดของนักประดิษฐ์ทั้งสองที่กล่าวมาแล้วใช้การสแกนภาพตั้งแต่ 30 ถึง 60 เส้น แต่อย่างไรก็แล้วแต่ การรับรู้ถึงรายละเอียดภาพนั้นจะต้องไม่น้อยกว่า 405 เส้นจึงจะมองออกว่าภาพนั้นเป็นภาพอะไร นี่เองที่ทําให้มีการค้นคิดการสแกนภาพด้วยอิเล็กทรอนิกส์ มีการแข่งขันกันมากมายในช่วงนั้น เพราะมีการคิดจะเอาสิ่งประดิษฐ์นี้มาใช้เพื่อการค้ากันแล้ว คณะกรรมาธิการการสื่อสารของอังกฤษจึงต้องประกาศกําหนดมาตรฐานเมื่อปี พ.ศ. 2483 ให้โทรทัศน์เพื่อการค้าใช้ระบบภาพ 525 เส้น นอกนั้นให้ใช้ระบบ 441 เส้น พ.ศ. 2495 ได้มีการกําหนดย่านความถี่ให้ส่งกันในย่านความถี่สูงมาก หรือ VHF (ย่อมาจาก Very High Frequency) มีช่องการส่ง 12 ช่อง ตั้งแต่ช่อง 2 ถึงช่อง 13 และกําหนดช่องความถี่เหนือสูงหรือ UHF (Ultra High Frequency) ให้มีได้ 70 ช่อง คือช่อง 14 ถึงช่อง 83 โดยทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันแต่เรื่องของความถี่เท่านั้นเอง ปี พ.ศ. 2519 จึงได้เกิดภาครับที่เรียกว่า ยูนิ-จูนเนอร์ (Uni-tuner) ซึ่งรับได้ทั้ง วีเอชเอฟ. และยูเอชเอฟ. เจมส์ แอล แบร์ด (James L. Baird) วิศวกรอังกฤษได้เอาแผ่นกรองสี (Colour Filter) มาแยกสัญญาณสีได้สําเร็จโดยอาศัยจานหมุนแยกสี (ปี พ.ศ. 2471) ก่อให้เกิดความคิดในการแยกสัญญาณสีเพื่อส่งเป็นภาพสี ในที่สุดกรรมาธิการว่าด้วยระบบโทรทัศน์นานาชาติ หรือ NTSC(National Television System Committee) ยอมรับระบบของเอ็นบีซีซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด

อดีต ปัจจุบันและอนาคตของโทรทัศน์และระบบส่งสัญญาณ

จากประวัติความเป็นมาของโทรทัศน์และการส่งสัญญาณ จะเห็นได้ว่า เครื่องโทรทัศน์นั้นจะมีวิวัฒนาการ จากหลอดภาพออสซิโลสโคป มาเป็นโทรทัศน์ขาว-ดำ จนกระทั่งต่อมา ได้พัฒนาเป็นโทรทัศน์สีเกิดขึ้น หลังจากนั้นบรรดาบริษัทผลิตโทรทัศน์ก็ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มีการพัฒนาให้จอโทรทัศน์มีลักษณะแบนขึ้น และต่อมาก็มีการพัฒนาเป็นจอโทรทัศน์แบบ PLASMA และ LCD ที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตคาดว่ารูปแบบของจอรับสัญญาณจะมีการพัฒนาไปโดยใช้เทคโนโลยี OLED ซึ่งจะทำให้จอรับสัญญาณมีขนาดบางยิ่งขึ้น และยังสามารถบิดงอจอภาพได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ ปัจจุบันจะเห็นได้ตามเครื่องเล่นขนาดเล็ก ซึ่งสามารถพกพาได้ ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาให้มีจอใหญ่ขึ้นเหมือน LCD ในปัจจุบัน สำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์นั้น เริ่มต้นจากการส่งสัญญาณในคลื่นความถี่วิทยุ จากนั้นจึงมาเป็นคลื่นความถี่สูง (VHF และ UHF) จากนั้นระบบการส่งสัญญาณยังมีการพัฒนาขึ้นโดยมีการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยยิงสัญญาณจากตัวส่งไปยังดาวเทียมและส่งกลับมายังเครื่องรับตามบ้านต่างๆ และนอกจากนั้นยังมีการส่งสัญญาณผ่าน Cable ใยแก้วซึ่งจะทำให้ปราศจากสัญญาณรบกวนทางอากาศ ทำให้ได้ภาพที่คมชัดเหมือนอยู่ที่ที่ส่งสัญญาณ และคาดว่าในอนาคตการส่งสัญญาณนั้นจะมีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้นมีการใช้งานมากพอๆ กับการดูโทรทัศน์เลยทีเดียว ซึ่งจากเทคโนโลยีของตัวรับสัญญาณและระบบการส่งสัญญาณนั้น คาดว่า อนาคตจะมีการทำโทรทัศน์ออกอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ต และการใช้งานโทรทัศน์เพียงอย่างเดียวจะมีน้อยลง การดูรายการโทรทัศน์จะทำได้โดยดูจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือในอนาคตเมื่อเทคโนโลยี Mobile Internet เกิดขึ้นเต็มประสิทธิภาพ ก็จะทำให้โทรทัศน์นั้นสามารถไปอยู่ที่มือถือ สามารถดูทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตในมือถือ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของภาพสัญญาณชัดเจนกว่าปัจจุบันซึ่งเป็นมือถือที่ติดเสาอากาศทีวีเฉยๆ